จัดกาารการเงินด้วย 5 วิธีนี้ | Ufriend

5 วิธีจัดการเงิน ของ“คนกลางรุ่น” แบกค่าใช้จ่ายทั้งบ้าน เงินเดือนเท่าเดิม แต่ภาระเพิ่มทุกปี

จริงไหม ? วัย 30-50 ปี คือช่วงที่ชีวิตเต็มไปด้วยภาระต้องดูแลลูกที่ยังเล็ก พ่อแม่ที่เริ่มเจ็บป่วย และงานที่เครียด แต่ “เงินเดือน” ยังเท่าเดิม หลายคนเผชิญภาพปัญหา รายรับไม่ขยับ แต่รายจ่ายวิ่งแซงทุกเดือน นี่คือชีวิตจริงของ “แซนด์วิชเจเนอเรชั่น” อย่างแท้จริง

คำศัพท์ที่ไว้ใช้เรียก คนกลางรุ่น ที่อยู่ “ตรงกลาง” และถูกบีบจากทั้งสองฝั่ง ด้านบนคือพ่อแม่ที่ต้องส่งเสีย ส่วนด้านล่างคือลูกที่ยังดูแลตัวเองไม่ได้  จึงไม่แปลกที่หลายคนจะรู้สึก “เหนื่อย แต่ต้องรอด”

ถ้าถามว่าในสังคมไทย มีคนที่อยู่ในชะตากรรมเดียวกัน หรือเป็น “เดอะแบก” เหมือนกับเรา มากแค่ไหน ?

อ้างอิงจาก โครงสร้างประชากรไทยปัจจุบัน พบว่า ประชากรไทยวัย 40-50 ปี ปัจจุบันมีอยู่ 10 ล้านคน หรือคิดเป็น 15% ของประชากรไทย และถ้าดูกลุ่มคนที่อายุ 35-55 ปี ก็มีอยู่ประมาณ 20 ล้านคน หรือคิดเป็น 30% ของประชากร ซึ่งรวมทั้ง 2 กลุ่ม นับไม่ว่าไม่น้อย

  • การเงินตึงมือ!
  • สังคมทำงานกดดัน!
  • เครียดสะสม !
  • ชีวิตครอบครัวก็ล้มเหลว!

หลายคนมีภาวะเช่นนี้ จนไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร?  โดยเฉพาะในด้านการเงิน เพราะต้องจัดสรรเงินให้เพียงพอต่อความต้องการของทุกคนในครอบครัว

5 ทางรอด ของคนที่ต้องแบก “ค่าใช้จ่าย” ทั้งบ้าน 

5 ทางรอดเบื้องต้น สำหรับคนที่กำลัง แบกค่าใช้จ่ายทั้งครอบครัว ตามข้อแนะนำของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีดังนี้

1. เข้าใจสถานการณ์ตัวเองก่อน 

ภาระ 2 ด้านต้องวางแผนให้ดี คนวัย 35–55 ปีหลายคนกำลังเจอสถานการณ์ “ดูแลทั้งลูกและพ่อแม่” พร้อมกัน ทั้ง ค่าเทอม ค่ารักษา ค่าครองชีพ ฯลฯ กำลังไหลออกจากกระเป๋าทุกทาง

เบื้องต้น ต้องเริ่มต้นที่ “เข้าใจภาพรวมของตัวเอง” ทั้งรายรับ รายจ่าย หนี้ และเป้าหมายในชีวิต แล้วค่อยวางแผนให้รัดกุม อย่ารอให้เงินขาดมือแล้วค่อยจัดการ รู้ให้ทันตัวเอง คือ ก้าวแรกของความมั่นคง

2. วางแผนงบประมาณอย่างละเอียด เพราะเงินเดือนเดียว แบ่งให้เป็นระบบ

จดรายรับ-รายจ่ายทั้งหมด แล้วแยกชัดเจนว่าอะไรจำเป็น อะไรลดได้ เช่น

  • ค่าใช้จ่ายประจำ: ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเรียนลูก
  • รายจ่ายเสริม: อาหารนอกบ้าน เที่ยวนอกแผน

ใช้แอปฯ หรือโปรแกรมช่วยจัดการจะติดตามได้ง่ายขึ้น และต้องทบทวนงบทุกเดือน เพราะชีวิตเปลี่ยนตลอดเวลา ตั้งเป้าออมให้ได้ก่อนใช้ และใช้เท่าที่จำเป็น ไม่เกินกำลัง

3. ออมฉุกเฉิน และอย่าลืมอนาคตตัวเอง

อย่าทุ่มทุกบาทให้ครอบครัวจนลืมดูแลตัวเอง

  • เงินฉุกเฉิน ควรมีอย่างน้อย 3–6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน
  • ประกัน ช่วยลดภาระใหญ่ในอนาคต เช่น ค่ารักษาโรคร้าย
  • การลงทุนเพื่อเกษียณ ก็สำคัญ เริ่มเร็วจะเหนื่อยน้อยกว่า

“ดูแลคนอื่นได้ดี ถ้าเราไม่ล้มก่อน” 

4. สื่อสารและแบ่งเบาภาระในครอบครัว

อย่าแบกไว้คนเดียว พูดคุยเปิดใจให้ทุกคนรู้ข้อจำกัดทางการเงินของครอบครัว

  • ลูกโตแล้ว ให้เรียนรู้เรื่องเงิน
  • พ่อแม่ยังแข็งแรง คุยเรื่องรายได้-ทรัพย์สิน
  • คู่ชีวิต ควรมีเป้าหมายการเงินร่วมกัน

“ความเข้าใจช่วยลดภาระใจ และทำให้การเงินเดินไปพร้อมกันทั้งครอบครัว”

5. ใช้เครื่องมือและสิทธิทางการเงินให้เป็นประโยชน์

อย่าให้เงินทำงานหนักแค่ทางเดียว คนแซนด์วิชควรใช้เครื่องมือทางการเงินและสิทธิประโยชน์ที่มีให้คุ้มที่สุด

  • ลดหย่อนภาษี: อย่าลืมใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรและพ่อแม่ เพื่อให้มีเงินเหลือใช้มากขึ้นในแต่ละปี
  • วางแผนอนาคตลูก: เปิดบัญชีออมเงิน หรือลงทุนกองทุนรวม LTF/SSF เพื่ออนาคตการศึกษา
  • ดูแลสุขภาพพ่อแม่: ตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพ หรือเสริมความคุ้มครองที่จำเป็น ลดความเสี่ยงค่ารักษาพยาบาลก้อนใหญ่
  • มองไปข้างหน้า: วางแผนเรื่องมรดก หนี้สิน และทรัพย์สิน เพื่อให้จัดการได้ง่ายในอนาคต ไม่ทิ้งภาระไว้กับคนรุ่นถัดไป

การรู้จักใช้สิทธิและวางแผนด้วยเครื่องมือทางการเงิน ไม่เพียงช่วยให้ “รอด” แต่ยังช่วยให้ “รวยขึ้นอย่างมีระบบ”

ขอบคุณข้อมูลจาก : thairath

 

สนใจ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เรายินดีให้บริการ

Facebook:  Ufriendshop

LINE:  @ufriend (มี@) หรือกดลิงก์: https://lin.ee/FJBOd2R

Tiktok:  https://www.tiktok.com/@ufriendshop

โทรสอบถาม: 064-616-9699

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ นโยบายคุ้มครองส่วนบุคคล ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save